Pages

Monday 3 September 2018

การขยายพันธุ์แหนแดง


   แหนแดงเป็นพื้ชน้ำ เป็นเฟินน้ำ (water fern ) อีกพวกนึง ที่มีการสร้างสปอร์ในการขยายพันธุ์  แหนแดงเป็นพื้ชที่ชอบความชื้นสูง สามารถเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่ปราศจาคสารเคมี เช่น พวกยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า ขยายพันธุ์ได้ง่าย

ดร.ศิริลักษณ์ แก้วสุรลิขิต นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานวิจัยจุลินทรีย์ดิน กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา กองวิจัยพัฒนา
ปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร เล่าว่า แหนแดงที่ขึ้นอยู่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติในบ้านเรา เป็นแหนแดงสายพันธุ์ อะซอลล่า พินนาต้า (Azolla pinnata) มีขนาดเล็กกว่าแหนแดงสายพันธุ์ที่กรมวิชาการเกษตรพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้เกษตรกรนำไปใช้ประโยชน์
ในปัจจุบันประมาณ 10 เท่า ทำให้ขยายพันธุ์ได้ช้ากว่า

แล้วใช้แหนแดงพันะธุ์อะไรจึงจะดี
    สายพันธุ์แหนแดงที่มีศักยภาพในการขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว คือ Azolla microphylla (อะโซลลา ไมโครฟิลลา) ซึ่งในเว็บของเราเพาะขยายพันธุ์สายพันธุ์นี้

ดังได้กล่าวมาแล้ว แหนแดงมีอยู่มากมายหลายสายพันธุ์ ประมาณ 7 สายพันธุ์ แต่ที่เหมาะสำหรับประเทศไทยมีอยู่ 2 สายพันธุ์ คือ
สายพันธุ์ อะซอลล่า พินาต้า (Azolla pinnata) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมในประเทศไทยกับสายพันธุ์ อะซอลล่าไมโครฟิลล่า (Azolla microphylla)
ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่กรมวิชาการเกษตรนำเข้ามาเพื่อคัดพันธุ์

ดร.ศิริลักษณ์ เล่าว่า หลังจากที่เราคัดเลือกได้สายพันธุ์แหนแดงที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยแล้ว เราก็ได้ปรับปรุงพันธุ์โดยการฉายแสง
แล้วทำการคัดพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ขยายพันธุ์ได้รวดเร็วขึ้น มีความเหมาะสมสามารถทนอยู่ในสภาพแวดล้อมในบ้านเราได้ดี เมื่อเทียบคุณสมบัติ
กับแหนแดงสายพันธุ์ที่มีอยู่ในบ้านเราพบว่ามีคุณสมบัติที่ด้อยกว่า คือ ตรึงไนโตรเจนได้น้อยกว่า ขนาดของต้นเล็กกว่า ขยายพันธุ์ได้ช้ากว่า

กรมวิชาการเกษตรได้พัฒนาพันธุ์และขยายพันธุ์แหนแดงสายพันธุ์ไมโคฟิลล่า (microphylla) มาตั้งแต่ปี 2520 ได้มีการรักษาพันธุ์
มาเรื่อยๆ และได้เงียบหายไประยะหนึ่ง เมื่อประเทศไทยหันมาส่งเสริมเรื่องการทำเกษตรอินทรีย์ แหนแดงของกรมวิชาการเกษตรจึงได้นำมา
พัฒนาการใช้ประโยชน์เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์อีกครั้งหนึ่งในปี 2540

คุณสมบัติของแหนแดงพันธุ์กรมวิชาการเกษตร

เนื่องจากกาบใบบนด้านหลังของแหนแดงมีโพรงใบและมีสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินอาศัยอยู่ในโพรงใบของแหนแดง เมื่อนำมาวิเคราะห์
พบว่ามีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบสูงถึง 4.6 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าพืชตระกูลถั่วที่มีอยู่ประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเมื่อหว่านแหนแดงไปในนา 1 ไร่
จะมีผลผลิตแหนแดง 3,000 กก. (3 ตัน) เทียบได้กับปุ๋ยยูเรีย 7-10 กก. ซึ่งเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของข้าว (ที่มา http://www.doa.go.th/pibai/pibai/n19/v_5-june/korkui.html)

วิฺธีการขยายพันธุ์แหนแดง
    1. ขยายพันธุ์แหนแดงลงบ่อ สระน้ำ หรือแหล่งน้ำที่สรา้งขึ้น 
         น้ำจะต้องสะอาด ปราศจากการปนเปื้อนสารเคมี  ควรมีการพรางแสงบ้างในช่วงแรก (สัปดาห์แรกที่ปล่อยลงแหล่งน้ำ) ใช้อัตราการปล่อยขยายพันธุ์ ถ้าเกษตรกรมีแม่พันธุ์ 10 กก. ก็จะเพียงพอสำหรับนา 1 ไร่ และใช้เวลารประมาณ 1 เดือน จึงจะเต็มพื้นที่ 1 ไร่



  2. ขยายพันธุ์แหนแดงด้วยกะละมัง หรือวงบ่อซีเมนต์
         ข้าพเจ้าพบว่า การลดต้นทุนที่ดี ในการเก็บสต๊อกแหนแดง คือ การใช้กะละมังพลาสติก ซึ่งข้าพเจ้าซื้อมาใบละ 20 บาทเท่านั้น
          กะละมังควรเป็นกะละมังเเก่า หรือ ผ่านการแช่น้ำ 7-10 วัน เพิ่อลดความเป็นพิษของพลาสติกต่อแหนแดง
           2.1 เติมปุ๋ยมูลสัตว์ เช่น มูลวัว 1 กำมือ







           2.2  เติมน้ำให้ระดับน้ำสูง 1 ฝ่ามือ หรือ15 เซนติเมตร
           2.3  ผสมปุ๋ยกับน้ำให้เข้ากัน
           2.4  ปล่อยแหนแดงลงไปราวๆ 1อุ้งมือพูนๆ
           2.5  เก็บในที่รำไร หรือพรางแสง สัก 3-5 วัน แล้วค่อยให้โดนแสง (ในกรณีที่สั่งจากไปรษณีย์) แต่ถ้าย้ายมาจากกะละมังเก่า หรือสต๊อก ก็ไม่จำเป็นต้องพรางแสง

           ข้อควรระวัง

                         น้ำที่ใชควรเป็นน้ำคลอง   หรือน้ำที่ไม่มีคลอรีน 
       

No comments: